เพลงอาเซีย

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ธงชาติมาเลเซีย

ธงชาติมาเลเซีย
 
ธงชาติมาเลเซีย หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาลูร์ เกมิลัง ( Jalur Gemilang มีความหมายว่าธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงิน ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า บินตัง เปอร์เซกูตัน (Bintang Persekutuan) หรือดาราสหพันธ์

สัตร์ประจำชาติมาเลเซีย


เสือโคร่งเป็นสัตว์ประจำชาติมาเลเซีย มีถิ่นฐานอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู โดยเสือโคร่งนั้นได้รับการยกย่องอย่างสูงยิ่ง ดังปรากฏอยู่บนตราแผ่นดินของมาเลเซียเพื่อแสดงถึงกำลังและความกล้าหาญของชาวมาเลเซีย อีกทั้งยังใช้เป็นสมญานามของฟุตบอลทีมชาติมาเลเซียอีกด้วย

ศิลปะการป้องกันตัวของมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) 
 silat ศิลปะการป้องกันตัวของชนชาวมลายูคือ Silat โดยศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้มีมาเป็นเวลานานแล้ว Silat ได้กำเนินขึ้นมาเป็นเวลานับร้อยพันปีมาแล้ว ลักษณะของศิลปะการป้องกันตัวที่เรียกว่า Silat นั้นมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. Silat คือการเคลื่อนไหวของร่างกายในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูหรือคู่ต่อสู้
2. Silap คือช่วงจังหวะลีลาที่จะใช้ในศิลปะการป้องกันตัว
3. Silau คือการตอบโต้ที่ใช้จากการป้องกันตัวที่ศัตรูหรือคู่ต่อสู้โจมตีตัวเรา
                 ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat สามารถที่จะกล่าวได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหว, ช่วงจังหวะและลีลา, การตอบโต้ที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้นโดยเป็นระบบ เป็นระเบียบและละเอียดอ่อนในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูและคู่ต่อสู้
ในการเรียนเกี่ยวกับศิลปะการป้องกันตัว Silat นั้น คนหนึ่งๆ มีการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับที่      แตกต่างกันตามความสามารถและประสิทธิภาพของแต่ละคน โดยปกติแล้วระดับ            

    ความสามารถของศิลปะการป้องกันตัว Silat มีอยู่ 5 ระดับ คือ
       1.ระดับ Mengetahvi Seni เป็นระดับที่รู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ช่วงลีลา ศิลปะการตอบโต้
       2.ระดับBudaya Seni เป็นระดับการเรียนรู้วิถีชีวิตและคำสั่งการ พร้อมการเผยแพร่  ศิลปะการป้องกันตัว Silat
       3.ระดับ Bangsa Seni เป็นระดับการศึกษาเชิงลึกของศิลปะการป้องกันตัว และภูมิหลังของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       4.ระดับ Budi Pekerti Seni เป็นระดับการเรียนรู้ เข้าใจกฏระเบียบ และหลักเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       5.ระดับ Jiwa Seni เป็นระดับสร้างจิตสำนึกในศิลปะการป้องกันตัว Silat และศึกษาความเร้นลับของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       6.ระดับ Alam Seni เป็นระดับการเผยแพร่ศิลปะการป้องกันตัว Silat และสร้างหรือรักษากฏเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat ให้อยู่ในจิตวิญญาณของนักศิลปะการป้องกันตัว Silat ทุกคน
       ศิลปะการป้องกันตัว Silat มีการเคลื่อนไหว ช่วงลีลาการก้าว ลูกไม้ การหลีก การตอบโต้ การต่อย การถีบ การโจมตี ที่แตกต่างกันตามที่ครูศิลปะการป้องกันตัวต่างๆเป็นผู้คิดลูกไม้ของศิลปะการป้องกันตัว ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat จึงมีหลากหลายชื่อเช่น
1. Seni Silat Gayong
2. Silat Lincah เป็น 1 ใน 4 ของSilat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
3. Silat Cekak เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
4. Silat Lintau
5. Silat Kalimah
6. Silat kuntau Melayu
7. Silat Minangkabau
8. Silat Gayung Patani เกิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เติบโตในมาเลเซีย เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
9. Silat Sendeng
10. Silat Sunting
11. Silat Abjad
12. Silat Gayang Malaysia เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซียมีนายกรัฐมนตรี 6 คนตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ
ประกอบ คุปรัตน์
E-mail: pracob@sb4af.org

Updated: Wednesday, October 28, 2009
Keywords: Malaysia, การเมือง, การบริหาร, ความเป็นผู้นำ

ความนำ

ในขณะที่ประเทศไทยซึ่งมีสภาพการพัฒนาที่หยุดชะงักในช่วงประมาณ 15 ปีที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความชะงักงันอันเกิดจากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง มีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้น 2 ครั้ง ที่อาจกล่าวได้ว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้น ในขณะที่การเมืองไทยเข้าสู่ยุคธนาธิปไตย มีการใช้เงินปูทางสู่อำนาจทางการเมือง และนำมาซึ่งโอกาสในการสร้างสมกำลังเงินและเครือข่ายที่จะครอบงำทางการเมือง และผูกขาดกันทางเศรษฐกิจของประเทศ

ใน ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยโดยรอบเริ่มมีความมั่นคง มีเสถียรภาพทางการเมือง แม้แต่ในประเทศกัมพูชา เวียตนาม ลาว แต่ประเทศไทยยังอยู่ในวังวนของการเมืองที่สับสน ที่ต้องแสวงหาทางออก

มาเลเซีย เป็นประเทศที่น่าสนใจในการพัฒนาที่ต่อเนื่อง แม้ความจริงเขาประสบปัญหาทางด้านความขัดแย้งทางเชื่อชาติ แต่ช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง จนทำให้เศรษฐกิจของเขาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ใกล้ความเป็นประเทศพัฒนาสามารถแข่งขันกับประเทศตะวันตกได้

ประเทศมาเลเซีย

มีนายกรัฐมนตรี 6 คนในช่วงเวลา 52 ปี

ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) มีเมืองหลวง (Capital) คือเมืองกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) หรือเรียกย่อๆว่า KL และก็จัดเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

มาเลเซียเป็นประเทศเพื่อนบ้านทางตอนใต้ของประเทศไทย

มาเลเซียมีภาษาทางการ (Official languages) คือภาษามาเลย์ (Malay) ซึ่ง ใช้ตัวเขียนเป็นอักษรโรมัน หรืออังกฤษ คนที่อ่านภาษาอังกฤษออก จะเข้าใจคำศัพท์หรือภาษามาเลย์ หรืออินโดนีเซียได้อย่างไม่ยาก เมื่อเทียบกับภาษาไทย คนมาเลย์จัดว่ามีความรู้ที่จะใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เพราะได้รับพื้นฐานด้านการศึกษาจังอังกฤษในระหว่างที่เป็นประเทศเมืองขึ้น

ชาวมาเลเซีย ประกอบด้วยชนกลุ่มต่างๆ (Ethnic groups) ร้อยละ 54 เป็นเชื้อสายมาเลย์ (Malay), ร้อยละ 25 เป็นเชื้อสายจีน (Chinese), ร้อยละ 7.5 เป็นเชื้อสายอินเดีย (Indian), ร้อยละ 11.8 เป็นเชื้อสายภูมิบุตรอื่นๆ (other Bumiputera), ร้อยละ 1.7 เป็นพวกอื่นๆ

เราเรียกประชาชนของประเทศ (Demonym) ในภาษาอังกฤษว่า Malaysian

ประเทศมาเลเซียมีการปกครอง (Government) ในระบบสหพันธรัฐ โดยมีกษัตริย์ที่มาจากการเลือกตั้ง และมีรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย (Federal constitutional elective monarchy and Parliamentary democracy) มาเลเซีย แม้จะได้ก่อตั้งประเทศมาได้ในช่วงเวลาที่ไม่ยาวนาน มีปัญหาเปราะบางด้านเชื้อชาติ แต่ก็สามารถรักษาและใช้ระบอบประชาธิปไตยได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เคยมีการทำปฏิวัติรัฐประหารเลย

กษัตริย์ หรือพระประมุขของมาเลเซียเรียกว่า Yang di-Pertuan Agong ซึ่งองค์ปัจจุบัน คือ Mizan Zainal Abidin ซึ่งคล้ายกับของประเทศไทย ที่มีพระนามที่ยาวซึ่งบันทึกไว้ดังนี้ Duli Yang Maha Mulia Al-Wathiqu Billah Tuanku Sultan Mizan Zainal Abidin Ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah เป็นสุลต่านองค์ที่ 16 ของรัฐ Terengganu ใน ประเทศมาเลเซีย และเป็นประมุของประเทศมาเลเซีย อันเป็นตำแหน่งมาจากการเวียนเลือกจากประมุขของรัฐต่างๆในประเทศมาเลเซีย และดำรงตำแหน่งโดยมีวาระอันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญของประเทศ

ในด้านการบริหารประเทศ มีผู้นำฝ่ายบริหาร คือ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) คนปัจจุบัน คือ Najib Tun Razak

ประเทศมาเลเซียเคยเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร และประกาศอิสรภาพ (Independence) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957

ประเทศมาเลเซียมีพื้นที่รวม (Area) 329,845 ตารางกิโลเมตร (km2) จัดเป็นประเทศมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 66 ของโลก มีประชากร (Population, 2009) 28,310,000 คนจัดเป็นอันดับที่ 43 ของโลก มีความหนาแน่นของประชากร (Density) ต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตรเท่ากับ 85.8 คน จัดเป็นอันดับที่ 114 ของโลก

มีรายได้ประชากรต่อหัว (GDP, PPP) เท่ากับ USD 14,081 หรือ หากคิดเป้น GDP, Nominal เท่ากับ 8,118 ซึ่งสูงกว่าประเทศไทยร้อยละ 50 มาเลเซียจัดมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง มีกำลังคนที่แม้ไม่มาก แต่มีพื้นฐานการศึกษาที่ดี มีระบบดึงดูดต่างชาติมาลงทุน

การเมือง

ประเทศมาเลเซียมีระบบพรรคการเมืองหลายพรรค แต่ในประวัติตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ มีพรรคการเมืองครองอำนาจหลักพรรคเดียว คือ พรรค UMNO แต่โดยโครงสร้างเป็นพรรคประสม พรรค UMNO ช่วงแรกที่ใช้ชื่อว่า United Malays National Organisation-Alliance Party/National Front (UMNO-AP—BN) และในช่วงหลัง มีชื่อเป็น United Malays National Organisation/National Front (UMNO—BN) พรรคลักษณะประสมของ UMNO นั้น เพื่อรวบรวมความหลากหลายของภูมิภาค และเชื้อชาติต่างๆเข้าด้วยกัน การเมืองในแบบมาเลเซียนั้นมีสไตล์แบบเฉียบขาด จนได้รับคำวิจารณ์ด้านสิทธิมนุษยชน และมีการจำกัดด้านเสรีภาพการแสดงออก แต่ในระยะหลัง แนวทางการเมืองของมาเลเซียเริ่มมีฝ่ายค้านที่มีบทบาทมากขี้น

โดย ทางธรรมชาติแล้ว มาเลเซียมีพื้นที่มากเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรที่มีไม่มากนัก มาเลเซียมีทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ในขณะที่ประเทศไทยไม่มีมากในระดับของเขา นอกจากนี้ มาเลเซียมีสภาพอากาศที่ร้อนชื้น สามารถเพาะปลูกพืชอย่างปาล์มน้ำมัน ยางพาราได้ดี ในขณะที่ไทยมีความชื่นไปตามฤดูกาล สามารถปลูกพวกข้าวได้ดีกว่ามาเลเซีย

มาเลเซีย เคยมีความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างชนหลายเชื้อชาติ ทั้งมาเลย์ จีน อินเดีย และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ รวมถึงไทยด้วย แต่สภาพความขัดแย้งดังกล่าวลดลงเป็นลดำดับแม้ยังคงมีอยู่ ปัญหาที่ทำให้ควบคุมได้นี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และการแก้ปัญหาด้านปากท้องของประชากรเขาเป็นไปอย่างทั่วถึง

แต่ ในทางการเมือง มาเลเซียเคยมีความขัดแย้งในระหว่างชาวจีนชนกลุ่มน้อย กับมาเลย์ระดับเกือบจะเป็นสงครามกลางเมือง มีการจราจลที่ขยายวงกว้างขวาง แต่ก็สงบลงได้ แต่ที่แน่นอนคือไม่เคยมีการปฏิว้ติรัฐประหาร ในประวัติศาสตร์ เกาะสิงค์โปร์จัดเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาเลย์ แต่ที่ต้องแยกออกไปส่วนหนึ่งเพราะความกังวลที่หากรวมกัน จะทำให้มีประชากรจีนในอัตราส่วนที่สูงเกินไป ซึ่งอาจทำให้ชนชาวมาเลย์ถูกครอบงำโดยทางเศรษฐกิจโดยกลุ่มเชื้อสายจีน

นายกรัฐมนตรี

ในช่วงการประกาศเอกราช และเป็นประเทศมาเลเซียในยุคใหม่ ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 เป็นต้นมา นับเป็นเวลา 52 ปี ประเทศมาเลเซียมีนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำฝ่ายบริหารรวม 6 คน หรือคิดเป็นเฉลี่ยต่อคนที่ 8.7 ปี ทั้งหมดมาจากพรรคการเมืองเดียวกัน ในช่วงเวลาดังกล่าว นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 คือ Mahathir Mohamad ครองตำแหน่งยาวนานที่สุด คือ 22 ปี


คนที่ 1 Abdul Rahman

Abdul Rahman ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 จนถึงวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1970 ดำรงตำแหน่ง 3 วาระ

Abdul Rahman มีชื่อเต็มว่า Tunku Abdul Rahman Putra Al-Haj ibni Almarhum Sultan Abdul Hamid Halim Shah, AC, CH เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1903 ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1990 มีชื่อสถานะว่า Tunku หรือ “เจ้าชาย” ในมาเลเซีย และมีฉายาอีกว่า “Bapa Kemerdekaan” หรือ “บิดาแห่งอิสรภาพ” (Father of Independence) หรือ “Bapa Malaysia” หรือ “บิดาแห่งมาเลเซีย” (Father of Malaysia) เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็น Chief Minister แห่งสหพันธรัฐมาลาลา (the Federation of Malaya) จากปี ค.ศ. 1955 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมตรีคนแรกของประเทศเมื่อประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ. 1957 และคงดำรงตำแหน่งเมื่อมีรัฐ Sabah, Sarawak, และรัฐ Singapore เข้าร่วมในสหพันธรัฐ และกลายเป็นประเทศมาเลเซีย
ภาพ Abdul Razak


คนที่ 2 Abdul Razak

Abdul Razak เขารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1970 จนถึงวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1976 ดำรงตำแหน่ง 6 ปีติดต่อกัน ท่านผู้นี้คือบิดาของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ Najib Razak

Abdul Razak หรือที่มีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า Tun Abd Razak bin Hussein Al-Haj และเรียกโดยทั่วไปว่า Tun Razak เขาเกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1992 ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1972 เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการจัดตั้ง Barisan Nasional ซึ่งเป็นการรวมพรรคการเมืองเพื่อให้เกิดเอกภาพทางการเมืองของประเทศ และทำให้พรรคที่ได้ก่อตั้งได้มีอำนาจในมาเลเซียตราบจนปัจจุบัน เขาเป็นคนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ของมาเลเซีย (Malaysian New Economic Policy - MNEP)

คนที่ 3 Hussein Onn

Hussein Onn เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม คงศ. 1978 และดำรงตำแหน่งต่อกันจนถึงวันที่ 16 กรกฎาคม คงศ. 1981 รวมเป็นเวลา 3 ปี

เขามีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Tun Hussein bin Dato' Onn เขาเกิดที่ Johor Bahru, ในรัฐ Johor เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1922 และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1990 มีเชื้อสาย 3 ใน 4 เป็นมาเลย์ และอีก 1 ใน 4 เชื้อสายจากชาวยุโรป คือ Circassian เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น “soubriquet Bapa Perpaduan” หรือ “บิดาแห่งเอกภาพ” บิดาและมารดาของเขา คือ Dato Onn Jaafar และ Datin Halimah Hussein.

คนที่ 4 Mahathir Mohamad

Mahathir Mohamad เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 และดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 6 สมัยและสละตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2003 นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของมาเลเซีย คือดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 22 ปี


Tun Mahathir bin Mohamad เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1925 ปัจจุบันได้ลาจากวงการเมือง ระหว่างการดำรงตำแหน่ง เขาได้รับยกย่องว่าเป็นผู้นำให้มาเลเซียได้ก้าวหน้านำประเทศสู่ความทันสมัย Mahathir ได้ชื่อว่าเป็นผู้วิจารณ์ตะวันตกและประเทศพัฒนาแล้วอย่างกร้าวแข็งและไม่ เกรงใจ และการบริหารงานของเขา ทำให้เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำที่ทรงอิทธิพลคนหนึ่งของเอเซีย

คนที่ 5 Abdullah Ahmad Badawi

Abdullah Ahmad Badawi ซึ่งจัดได้ว่าเป็นทายาททางการเมืองของ Mahathir Mohamad เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2003 และดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2009 รวมเป็นเวลา 6 ปี

Tun Abdullah bin Haji Ahmad Badawi เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 เป็นนักการเมืองมาเลเซียที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงปี ค.ศ. 2003 จนถึง 2009 และเป็นประธานพรรค the United Malays National Organisation (UMNO) ซึ่งเป็นพรรคใหญ่สุดของมาเลเซีย และเป็นผู้นำพรรคผสม Barisan Nasional parliamentary coalition ในช่วงที่อำนาจของพรรครัฐบาลต้องอ่อนแอลงอย่างมาก เขาได้รับฉายาอย่างไม่เป็นทางการว่า Pak Lah หรือ “คุณลุง” Lah เป็นคำเรียกย่อๆของชื่อเขา คือ Abdullah

หลังจากที่นายก Dr. Mahathir bin Mohamad ได้ปลด Anwar Ibrahim ออกจากตำแหน่ง และได้แต่งตั้ง Abdullah เป็นรองนายกรัฐมนตรี (Deputy Prime Minister) และในที่สุด เขาได้เข้ารับตำแหน่งสืบต่อจาก Mahathir ในปี ค.ศ. 2003 ใน ช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง สถานะทางการเมืองของเขาอ่อนแอลง และเขาเองก็ได้รับแรงกดดันจากทั้งภายในและภายนอกพรรคของเขาสูง ในที่สุด ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2009 เขาจึงได้สละตำแหน่ง และ Najib Tun Razak ได้สืบอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป

คนที่ 6 Najib Razak

Najib Razak เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2009 จนถึงปัจจุบัน

Najib Razak มีชื่อสถานะว่า Dato' Seri Mohd. Najib bin Tun Haji Abdul Razak เกิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 เป็นนายกรัฐมตรีคนที่ 6 ของประเทศมาเลเซีย โดยตำแหน่งเดิมเขาคือ รองนายกรัฐมนตรี เป็นการสืบตำแหน่งต่อจาก Tun Abdullah Ahmad Badawi เขาเป็นสมาชิกพรรค UMNO และเป็นผู้นำพรรค เขาเป็นบุตรชายของอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่สองของมาเลเซีย คือ Tun Abdul Razak

อาหารประจำชาติ

ภาษา และอาหารประจำชาติ



ภาษา ที่ใช้ ภาษามาเลย์ (ภาษาราชการ) อังกฤษ จีนต่างๆ ภาษาทมิฬ และภาษาประจำเผ่าของชนชาวเผ่า ส่วนน้อยในประเทศ


อาหารประจำชาติ
อาหารมาเลเซีย มีลักษณะเด่นอยู่ที่การใช้สมุนไพร เครื่องเทศ พริก มีรสเผ็ด และมักจะใช้ผงกะหรี่ คนในปีนังไม่ว่าจะเป็นคนอินเดีย คนจีนหรือคนมาเลเซียเองชอบทานอาหารที่มีผงกะหรี่และไม่มีใครปฏิเสธอาหารที่มีผงกะหรี่ สมุนไพรที่นำมาประกอบอาหารนอกจากสมุนไพรท้องถิ่นซึ่งมีอยู่มากมาย บางครั้งยังมีการรวมสมุนไพรหลายชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีกลิ่นหอม มักใช้ในการผัดข้าว อาหารมาเลเซียส่วนใหญ่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอาหารมุสลิม เพราะไม่ใช้เนื้อหมู และไม่ใส่ไวน์ เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทานกันจึงเป็น เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ และ อาหารทะเล และภูมิภาคของมาเลเซีย

อาหารจะมีลักษณะเฉพาะต่างกัน ในปีนังจะใช้ผงกะหรี่ในการประกอบอาหารมาก เพราะคนส่วนใหญ่ชอบผงกะหรี่ ขณะที่ทางตอนใต้ของประเทศจะนิยมใช้กะทิ คล้ายกับอาหารไทย โดยจะใช้กะทิกับอาหารเกือบทุกอย่าง ข้าว เป็นอาหารจานหลักในทุกมื้อของอาหารมาเลเซียเหมือนอาหารไทย ต่างกับอาหารยุโรปที่บางมื้อเป็นขนมปัง บางมื้อเป็นเนื้อ หลายคนเห็นหน้าตาอาหารมาเลเซียคล้ายกับอาหารอินเดีย แต่ อาหารอินเดียจะใช้กะทิเป็นส่วนผสมน้อยมาก ในอาหารมาเลเซียยังมีเครื่องจิ้มคล้ายน้ำพริกกะปิ เรียกว่า ซัมบัล (Sambal) ทำจากพริกป่น หัวหอมและน้ำมะขาม เป็นส่วนหนึ่งของสำรับอาหารของชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ยังนิยมใช้ กะปิ ในการปรุงอาหารแทบทุกชนิดไม่ว่าจะผัดหรือแกง

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างอาหารประจำชาติมา 2 อย่างนั่นคือ
1.ข้าวมันไก่ หลายคนอาจสงสัยว่า ข้าวมันไก่ เป็นอาหารของมาเลเซียด้วยเหรอ คำตอบคือ ใช่ครับ เพราะมาเลเซีย เพิ่งจดทะเบียนอาหารประจำชาติ ในนั้นก็มี ข้าวมันไก่อยู่ด้วยครับ












2.บะกุ๊ดเต๋ รูปร่างหน้าตามันก็คล้ายกับ ก๋วยเตี๋ยวน้ำข้นบ้านเรา นี่แหละครับ