เพลงอาเซีย

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ธงชาติมาเลเซีย

ธงชาติมาเลเซีย
 
ธงชาติมาเลเซีย หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยาลูร์ เกมิลัง ( Jalur Gemilang มีความหมายว่าธงริ้วแห่งเกียรติศักดิ์) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงิน ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า บินตัง เปอร์เซกูตัน (Bintang Persekutuan) หรือดาราสหพันธ์

สัตร์ประจำชาติมาเลเซีย


เสือโคร่งเป็นสัตว์ประจำชาติมาเลเซีย มีถิ่นฐานอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู โดยเสือโคร่งนั้นได้รับการยกย่องอย่างสูงยิ่ง ดังปรากฏอยู่บนตราแผ่นดินของมาเลเซียเพื่อแสดงถึงกำลังและความกล้าหาญของชาวมาเลเซีย อีกทั้งยังใช้เป็นสมญานามของฟุตบอลทีมชาติมาเลเซียอีกด้วย

ศิลปะการป้องกันตัวของมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) 
 silat ศิลปะการป้องกันตัวของชนชาวมลายูคือ Silat โดยศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้มีมาเป็นเวลานานแล้ว Silat ได้กำเนินขึ้นมาเป็นเวลานับร้อยพันปีมาแล้ว ลักษณะของศิลปะการป้องกันตัวที่เรียกว่า Silat นั้นมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. Silat คือการเคลื่อนไหวของร่างกายในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูหรือคู่ต่อสู้
2. Silap คือช่วงจังหวะลีลาที่จะใช้ในศิลปะการป้องกันตัว
3. Silau คือการตอบโต้ที่ใช้จากการป้องกันตัวที่ศัตรูหรือคู่ต่อสู้โจมตีตัวเรา
                 ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat สามารถที่จะกล่าวได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหว, ช่วงจังหวะและลีลา, การตอบโต้ที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้นโดยเป็นระบบ เป็นระเบียบและละเอียดอ่อนในการป้องกันตัวจากการโจมตีของศัตรูและคู่ต่อสู้
ในการเรียนเกี่ยวกับศิลปะการป้องกันตัว Silat นั้น คนหนึ่งๆ มีการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับที่      แตกต่างกันตามความสามารถและประสิทธิภาพของแต่ละคน โดยปกติแล้วระดับ            

    ความสามารถของศิลปะการป้องกันตัว Silat มีอยู่ 5 ระดับ คือ
       1.ระดับ Mengetahvi Seni เป็นระดับที่รู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ช่วงลีลา ศิลปะการตอบโต้
       2.ระดับBudaya Seni เป็นระดับการเรียนรู้วิถีชีวิตและคำสั่งการ พร้อมการเผยแพร่  ศิลปะการป้องกันตัว Silat
       3.ระดับ Bangsa Seni เป็นระดับการศึกษาเชิงลึกของศิลปะการป้องกันตัว และภูมิหลังของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       4.ระดับ Budi Pekerti Seni เป็นระดับการเรียนรู้ เข้าใจกฏระเบียบ และหลักเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       5.ระดับ Jiwa Seni เป็นระดับสร้างจิตสำนึกในศิลปะการป้องกันตัว Silat และศึกษาความเร้นลับของศิลปะการป้องกันตัว Silat
       6.ระดับ Alam Seni เป็นระดับการเผยแพร่ศิลปะการป้องกันตัว Silat และสร้างหรือรักษากฏเกณฑ์ของศิลปะการป้องกันตัว Silat ให้อยู่ในจิตวิญญาณของนักศิลปะการป้องกันตัว Silat ทุกคน
       ศิลปะการป้องกันตัว Silat มีการเคลื่อนไหว ช่วงลีลาการก้าว ลูกไม้ การหลีก การตอบโต้ การต่อย การถีบ การโจมตี ที่แตกต่างกันตามที่ครูศิลปะการป้องกันตัวต่างๆเป็นผู้คิดลูกไม้ของศิลปะการป้องกันตัว ดังนั้น ศิลปะการป้องกันตัว Silat จึงมีหลากหลายชื่อเช่น
1. Seni Silat Gayong
2. Silat Lincah เป็น 1 ใน 4 ของSilat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
3. Silat Cekak เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
4. Silat Lintau
5. Silat Kalimah
6. Silat kuntau Melayu
7. Silat Minangkabau
8. Silat Gayung Patani เกิดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เติบโตในมาเลเซีย เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
9. Silat Sendeng
10. Silat Sunting
11. Silat Abjad
12. Silat Gayang Malaysia เป็น 1 ใน 4 ของ Silat ที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซียมีนายกรัฐมนตรี 6 คนตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ
ประกอบ คุปรัตน์
E-mail: pracob@sb4af.org

Updated: Wednesday, October 28, 2009
Keywords: Malaysia, การเมือง, การบริหาร, ความเป็นผู้นำ

ความนำ

ในขณะที่ประเทศไทยซึ่งมีสภาพการพัฒนาที่หยุดชะงักในช่วงประมาณ 15 ปีที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความชะงักงันอันเกิดจากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง มีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้น 2 ครั้ง ที่อาจกล่าวได้ว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้น ในขณะที่การเมืองไทยเข้าสู่ยุคธนาธิปไตย มีการใช้เงินปูทางสู่อำนาจทางการเมือง และนำมาซึ่งโอกาสในการสร้างสมกำลังเงินและเครือข่ายที่จะครอบงำทางการเมือง และผูกขาดกันทางเศรษฐกิจของประเทศ

ใน ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยโดยรอบเริ่มมีความมั่นคง มีเสถียรภาพทางการเมือง แม้แต่ในประเทศกัมพูชา เวียตนาม ลาว แต่ประเทศไทยยังอยู่ในวังวนของการเมืองที่สับสน ที่ต้องแสวงหาทางออก

มาเลเซีย เป็นประเทศที่น่าสนใจในการพัฒนาที่ต่อเนื่อง แม้ความจริงเขาประสบปัญหาทางด้านความขัดแย้งทางเชื่อชาติ แต่ช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง จนทำให้เศรษฐกิจของเขาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ใกล้ความเป็นประเทศพัฒนาสามารถแข่งขันกับประเทศตะวันตกได้

ประเทศมาเลเซีย

มีนายกรัฐมนตรี 6 คนในช่วงเวลา 52 ปี

ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) มีเมืองหลวง (Capital) คือเมืองกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) หรือเรียกย่อๆว่า KL และก็จัดเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

มาเลเซียเป็นประเทศเพื่อนบ้านทางตอนใต้ของประเทศไทย

มาเลเซียมีภาษาทางการ (Official languages) คือภาษามาเลย์ (Malay) ซึ่ง ใช้ตัวเขียนเป็นอักษรโรมัน หรืออังกฤษ คนที่อ่านภาษาอังกฤษออก จะเข้าใจคำศัพท์หรือภาษามาเลย์ หรืออินโดนีเซียได้อย่างไม่ยาก เมื่อเทียบกับภาษาไทย คนมาเลย์จัดว่ามีความรู้ที่จะใช้ภาษาอังกฤษได้ดี เพราะได้รับพื้นฐานด้านการศึกษาจังอังกฤษในระหว่างที่เป็นประเทศเมืองขึ้น

ชาวมาเลเซีย ประกอบด้วยชนกลุ่มต่างๆ (Ethnic groups) ร้อยละ 54 เป็นเชื้อสายมาเลย์ (Malay), ร้อยละ 25 เป็นเชื้อสายจีน (Chinese), ร้อยละ 7.5 เป็นเชื้อสายอินเดีย (Indian), ร้อยละ 11.8 เป็นเชื้อสายภูมิบุตรอื่นๆ (other Bumiputera), ร้อยละ 1.7 เป็นพวกอื่นๆ

เราเรียกประชาชนของประเทศ (Demonym) ในภาษาอังกฤษว่า Malaysian

ประเทศมาเลเซียมีการปกครอง (Government) ในระบบสหพันธรัฐ โดยมีกษัตริย์ที่มาจากการเลือกตั้ง และมีรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย (Federal constitutional elective monarchy and Parliamentary democracy) มาเลเซีย แม้จะได้ก่อตั้งประเทศมาได้ในช่วงเวลาที่ไม่ยาวนาน มีปัญหาเปราะบางด้านเชื้อชาติ แต่ก็สามารถรักษาและใช้ระบอบประชาธิปไตยได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เคยมีการทำปฏิวัติรัฐประหารเลย

กษัตริย์ หรือพระประมุขของมาเลเซียเรียกว่า Yang di-Pertuan Agong ซึ่งองค์ปัจจุบัน คือ Mizan Zainal Abidin ซึ่งคล้ายกับของประเทศไทย ที่มีพระนามที่ยาวซึ่งบันทึกไว้ดังนี้ Duli Yang Maha Mulia Al-Wathiqu Billah Tuanku Sultan Mizan Zainal Abidin Ibni Al-Marhum Sultan Mahmud Al-Muktafi Billah Shah เป็นสุลต่านองค์ที่ 16 ของรัฐ Terengganu ใน ประเทศมาเลเซีย และเป็นประมุของประเทศมาเลเซีย อันเป็นตำแหน่งมาจากการเวียนเลือกจากประมุขของรัฐต่างๆในประเทศมาเลเซีย และดำรงตำแหน่งโดยมีวาระอันเป็นไปตามรัฐธรรมนูญของประเทศ

ในด้านการบริหารประเทศ มีผู้นำฝ่ายบริหาร คือ นายกรัฐมนตรี (Prime Minister) คนปัจจุบัน คือ Najib Tun Razak

ประเทศมาเลเซียเคยเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร และประกาศอิสรภาพ (Independence) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957

ประเทศมาเลเซียมีพื้นที่รวม (Area) 329,845 ตารางกิโลเมตร (km2) จัดเป็นประเทศมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 66 ของโลก มีประชากร (Population, 2009) 28,310,000 คนจัดเป็นอันดับที่ 43 ของโลก มีความหนาแน่นของประชากร (Density) ต่อพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตรเท่ากับ 85.8 คน จัดเป็นอันดับที่ 114 ของโลก

มีรายได้ประชากรต่อหัว (GDP, PPP) เท่ากับ USD 14,081 หรือ หากคิดเป้น GDP, Nominal เท่ากับ 8,118 ซึ่งสูงกว่าประเทศไทยร้อยละ 50 มาเลเซียจัดมีพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง มีกำลังคนที่แม้ไม่มาก แต่มีพื้นฐานการศึกษาที่ดี มีระบบดึงดูดต่างชาติมาลงทุน

การเมือง

ประเทศมาเลเซียมีระบบพรรคการเมืองหลายพรรค แต่ในประวัติตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ มีพรรคการเมืองครองอำนาจหลักพรรคเดียว คือ พรรค UMNO แต่โดยโครงสร้างเป็นพรรคประสม พรรค UMNO ช่วงแรกที่ใช้ชื่อว่า United Malays National Organisation-Alliance Party/National Front (UMNO-AP—BN) และในช่วงหลัง มีชื่อเป็น United Malays National Organisation/National Front (UMNO—BN) พรรคลักษณะประสมของ UMNO นั้น เพื่อรวบรวมความหลากหลายของภูมิภาค และเชื้อชาติต่างๆเข้าด้วยกัน การเมืองในแบบมาเลเซียนั้นมีสไตล์แบบเฉียบขาด จนได้รับคำวิจารณ์ด้านสิทธิมนุษยชน และมีการจำกัดด้านเสรีภาพการแสดงออก แต่ในระยะหลัง แนวทางการเมืองของมาเลเซียเริ่มมีฝ่ายค้านที่มีบทบาทมากขี้น

โดย ทางธรรมชาติแล้ว มาเลเซียมีพื้นที่มากเมื่อเปรียบเทียบกับประชากรที่มีไม่มากนัก มาเลเซียมีทรัพยากรน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ในขณะที่ประเทศไทยไม่มีมากในระดับของเขา นอกจากนี้ มาเลเซียมีสภาพอากาศที่ร้อนชื้น สามารถเพาะปลูกพืชอย่างปาล์มน้ำมัน ยางพาราได้ดี ในขณะที่ไทยมีความชื่นไปตามฤดูกาล สามารถปลูกพวกข้าวได้ดีกว่ามาเลเซีย

มาเลเซีย เคยมีความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างชนหลายเชื้อชาติ ทั้งมาเลย์ จีน อินเดีย และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ รวมถึงไทยด้วย แต่สภาพความขัดแย้งดังกล่าวลดลงเป็นลดำดับแม้ยังคงมีอยู่ ปัญหาที่ทำให้ควบคุมได้นี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และการแก้ปัญหาด้านปากท้องของประชากรเขาเป็นไปอย่างทั่วถึง

แต่ ในทางการเมือง มาเลเซียเคยมีความขัดแย้งในระหว่างชาวจีนชนกลุ่มน้อย กับมาเลย์ระดับเกือบจะเป็นสงครามกลางเมือง มีการจราจลที่ขยายวงกว้างขวาง แต่ก็สงบลงได้ แต่ที่แน่นอนคือไม่เคยมีการปฏิว้ติรัฐประหาร ในประวัติศาสตร์ เกาะสิงค์โปร์จัดเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาเลย์ แต่ที่ต้องแยกออกไปส่วนหนึ่งเพราะความกังวลที่หากรวมกัน จะทำให้มีประชากรจีนในอัตราส่วนที่สูงเกินไป ซึ่งอาจทำให้ชนชาวมาเลย์ถูกครอบงำโดยทางเศรษฐกิจโดยกลุ่มเชื้อสายจีน

นายกรัฐมนตรี

ในช่วงการประกาศเอกราช และเป็นประเทศมาเลเซียในยุคใหม่ ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 เป็นต้นมา นับเป็นเวลา 52 ปี ประเทศมาเลเซียมีนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้นำฝ่ายบริหารรวม 6 คน หรือคิดเป็นเฉลี่ยต่อคนที่ 8.7 ปี ทั้งหมดมาจากพรรคการเมืองเดียวกัน ในช่วงเวลาดังกล่าว นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 คือ Mahathir Mohamad ครองตำแหน่งยาวนานที่สุด คือ 22 ปี


คนที่ 1 Abdul Rahman

Abdul Rahman ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 จนถึงวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1970 ดำรงตำแหน่ง 3 วาระ

Abdul Rahman มีชื่อเต็มว่า Tunku Abdul Rahman Putra Al-Haj ibni Almarhum Sultan Abdul Hamid Halim Shah, AC, CH เกิดเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1903 ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1990 มีชื่อสถานะว่า Tunku หรือ “เจ้าชาย” ในมาเลเซีย และมีฉายาอีกว่า “Bapa Kemerdekaan” หรือ “บิดาแห่งอิสรภาพ” (Father of Independence) หรือ “Bapa Malaysia” หรือ “บิดาแห่งมาเลเซีย” (Father of Malaysia) เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็น Chief Minister แห่งสหพันธรัฐมาลาลา (the Federation of Malaya) จากปี ค.ศ. 1955 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมตรีคนแรกของประเทศเมื่อประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ. 1957 และคงดำรงตำแหน่งเมื่อมีรัฐ Sabah, Sarawak, และรัฐ Singapore เข้าร่วมในสหพันธรัฐ และกลายเป็นประเทศมาเลเซีย
ภาพ Abdul Razak


คนที่ 2 Abdul Razak

Abdul Razak เขารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1970 จนถึงวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1976 ดำรงตำแหน่ง 6 ปีติดต่อกัน ท่านผู้นี้คือบิดาของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ Najib Razak

Abdul Razak หรือที่มีชื่อเต็มอย่างเป็นทางการว่า Tun Abd Razak bin Hussein Al-Haj และเรียกโดยทั่วไปว่า Tun Razak เขาเกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1992 ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1972 เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการจัดตั้ง Barisan Nasional ซึ่งเป็นการรวมพรรคการเมืองเพื่อให้เกิดเอกภาพทางการเมืองของประเทศ และทำให้พรรคที่ได้ก่อตั้งได้มีอำนาจในมาเลเซียตราบจนปัจจุบัน เขาเป็นคนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ของมาเลเซีย (Malaysian New Economic Policy - MNEP)

คนที่ 3 Hussein Onn

Hussein Onn เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม คงศ. 1978 และดำรงตำแหน่งต่อกันจนถึงวันที่ 16 กรกฎาคม คงศ. 1981 รวมเป็นเวลา 3 ปี

เขามีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Tun Hussein bin Dato' Onn เขาเกิดที่ Johor Bahru, ในรัฐ Johor เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1922 และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1990 มีเชื้อสาย 3 ใน 4 เป็นมาเลย์ และอีก 1 ใน 4 เชื้อสายจากชาวยุโรป คือ Circassian เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น “soubriquet Bapa Perpaduan” หรือ “บิดาแห่งเอกภาพ” บิดาและมารดาของเขา คือ Dato Onn Jaafar และ Datin Halimah Hussein.

คนที่ 4 Mahathir Mohamad

Mahathir Mohamad เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 และดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 6 สมัยและสละตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2003 นับเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของมาเลเซีย คือดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 22 ปี


Tun Mahathir bin Mohamad เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1925 ปัจจุบันได้ลาจากวงการเมือง ระหว่างการดำรงตำแหน่ง เขาได้รับยกย่องว่าเป็นผู้นำให้มาเลเซียได้ก้าวหน้านำประเทศสู่ความทันสมัย Mahathir ได้ชื่อว่าเป็นผู้วิจารณ์ตะวันตกและประเทศพัฒนาแล้วอย่างกร้าวแข็งและไม่ เกรงใจ และการบริหารงานของเขา ทำให้เขาได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำที่ทรงอิทธิพลคนหนึ่งของเอเซีย

คนที่ 5 Abdullah Ahmad Badawi

Abdullah Ahmad Badawi ซึ่งจัดได้ว่าเป็นทายาททางการเมืองของ Mahathir Mohamad เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2003 และดำรงตำแหน่งจนถึงวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2009 รวมเป็นเวลา 6 ปี

Tun Abdullah bin Haji Ahmad Badawi เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 เป็นนักการเมืองมาเลเซียที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงปี ค.ศ. 2003 จนถึง 2009 และเป็นประธานพรรค the United Malays National Organisation (UMNO) ซึ่งเป็นพรรคใหญ่สุดของมาเลเซีย และเป็นผู้นำพรรคผสม Barisan Nasional parliamentary coalition ในช่วงที่อำนาจของพรรครัฐบาลต้องอ่อนแอลงอย่างมาก เขาได้รับฉายาอย่างไม่เป็นทางการว่า Pak Lah หรือ “คุณลุง” Lah เป็นคำเรียกย่อๆของชื่อเขา คือ Abdullah

หลังจากที่นายก Dr. Mahathir bin Mohamad ได้ปลด Anwar Ibrahim ออกจากตำแหน่ง และได้แต่งตั้ง Abdullah เป็นรองนายกรัฐมนตรี (Deputy Prime Minister) และในที่สุด เขาได้เข้ารับตำแหน่งสืบต่อจาก Mahathir ในปี ค.ศ. 2003 ใน ช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง สถานะทางการเมืองของเขาอ่อนแอลง และเขาเองก็ได้รับแรงกดดันจากทั้งภายในและภายนอกพรรคของเขาสูง ในที่สุด ในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2009 เขาจึงได้สละตำแหน่ง และ Najib Tun Razak ได้สืบอำนาจเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป

คนที่ 6 Najib Razak

Najib Razak เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 2009 จนถึงปัจจุบัน

Najib Razak มีชื่อสถานะว่า Dato' Seri Mohd. Najib bin Tun Haji Abdul Razak เกิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 เป็นนายกรัฐมตรีคนที่ 6 ของประเทศมาเลเซีย โดยตำแหน่งเดิมเขาคือ รองนายกรัฐมนตรี เป็นการสืบตำแหน่งต่อจาก Tun Abdullah Ahmad Badawi เขาเป็นสมาชิกพรรค UMNO และเป็นผู้นำพรรค เขาเป็นบุตรชายของอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่สองของมาเลเซีย คือ Tun Abdul Razak

อาหารประจำชาติ

ภาษา และอาหารประจำชาติ



ภาษา ที่ใช้ ภาษามาเลย์ (ภาษาราชการ) อังกฤษ จีนต่างๆ ภาษาทมิฬ และภาษาประจำเผ่าของชนชาวเผ่า ส่วนน้อยในประเทศ


อาหารประจำชาติ
อาหารมาเลเซีย มีลักษณะเด่นอยู่ที่การใช้สมุนไพร เครื่องเทศ พริก มีรสเผ็ด และมักจะใช้ผงกะหรี่ คนในปีนังไม่ว่าจะเป็นคนอินเดีย คนจีนหรือคนมาเลเซียเองชอบทานอาหารที่มีผงกะหรี่และไม่มีใครปฏิเสธอาหารที่มีผงกะหรี่ สมุนไพรที่นำมาประกอบอาหารนอกจากสมุนไพรท้องถิ่นซึ่งมีอยู่มากมาย บางครั้งยังมีการรวมสมุนไพรหลายชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีกลิ่นหอม มักใช้ในการผัดข้าว อาหารมาเลเซียส่วนใหญ่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอาหารมุสลิม เพราะไม่ใช้เนื้อหมู และไม่ใส่ไวน์ เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทานกันจึงเป็น เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ และ อาหารทะเล และภูมิภาคของมาเลเซีย

อาหารจะมีลักษณะเฉพาะต่างกัน ในปีนังจะใช้ผงกะหรี่ในการประกอบอาหารมาก เพราะคนส่วนใหญ่ชอบผงกะหรี่ ขณะที่ทางตอนใต้ของประเทศจะนิยมใช้กะทิ คล้ายกับอาหารไทย โดยจะใช้กะทิกับอาหารเกือบทุกอย่าง ข้าว เป็นอาหารจานหลักในทุกมื้อของอาหารมาเลเซียเหมือนอาหารไทย ต่างกับอาหารยุโรปที่บางมื้อเป็นขนมปัง บางมื้อเป็นเนื้อ หลายคนเห็นหน้าตาอาหารมาเลเซียคล้ายกับอาหารอินเดีย แต่ อาหารอินเดียจะใช้กะทิเป็นส่วนผสมน้อยมาก ในอาหารมาเลเซียยังมีเครื่องจิ้มคล้ายน้ำพริกกะปิ เรียกว่า ซัมบัล (Sambal) ทำจากพริกป่น หัวหอมและน้ำมะขาม เป็นส่วนหนึ่งของสำรับอาหารของชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ยังนิยมใช้ กะปิ ในการปรุงอาหารแทบทุกชนิดไม่ว่าจะผัดหรือแกง

ในที่นี้ขอยกตัวอย่างอาหารประจำชาติมา 2 อย่างนั่นคือ
1.ข้าวมันไก่ หลายคนอาจสงสัยว่า ข้าวมันไก่ เป็นอาหารของมาเลเซียด้วยเหรอ คำตอบคือ ใช่ครับ เพราะมาเลเซีย เพิ่งจดทะเบียนอาหารประจำชาติ ในนั้นก็มี ข้าวมันไก่อยู่ด้วยครับ












2.บะกุ๊ดเต๋ รูปร่างหน้าตามันก็คล้ายกับ ก๋วยเตี๋ยวน้ำข้นบ้านเรา นี่แหละครับ

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ที่ท่องเทียวประเทศมาเลเซีย

แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของมาเลเซีย
ผู้ที่ไปมาเลเซียมาแล้ว มักจะพูดว่า “ถ้าไม่มีเก็นติ้งไฮแลนด์ นั่งกระเช้าลอยฟ้า ขึ้นไปเล่นกาสิโนบนยอดเขาแล้ว มาเลเซีย ก็ไม่เห็นมีอะไรน่าสนใจ” มาปีนี้มาเลเซียพลิกโฉมสร้างจุดขายใหม่ดึงนักท่องเที่ยวมาเที่ยวชายหาด ดำน้ำ ชมธรรมชาติ ช็อปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมลดราคา
มาเลเซียกำหนดให้ปีนี้เป็น “ปีท่องเที่ยวมาเลเซีย 2007” รัฐบาลทุ่มลงทุนมหาศาล เพื่อสร้างเมืองที่ทันสมัยให้เป็น “จุดขาย” พร้อมกับส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ชายหาด เกาะแก่งที่สวยงาม การเที่ยวแบบผจญภัย และการดำน้ำทะเลลึก สถานที่ท่องเที่ยวในมาเลเซียที่นักท่องเที่ยวนิยมไปมากที่สุดเห็นจะเป็น การเที่ยวชมวิวทิวทัศน์ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ถ่ายรูปกับหอคอยสูงเสียดฟ้า เคแอล ทาวเวอร์ ที่มีความสูงอันดับ 4 ของโลก และยังมีตึกแฝดทวิน ทาวเวอร์ ที่สูงที่สุดในโลก 451 เมตร และอนุสาวรีย์ทหารอาสา สถานที่ท่องเที่ยวมาเลเซียมีดังนี้








ตึกเปโตรนาส (Petronas Twin Tower)
เป็นตึกแฝดที่สูงที่สุดในโลก มีความสูงถึง 452 เมตร มีชั้นทั้งหมด 88 ชั้น โดยทางการใช้งบประมาณการก่อสร้างทั้งหมด 20,000 ล้านบาท ซึ่งเจ้าของตึกนี้เป็นเจ้าของผู้ผลิตน้ำมันยี่ห้อเปโตรนาส ชื่อเดียวกับตึกนั่นเอง การออกแบบตึกได้รับแรงบันดาลใจจากลักษณะของเสาหินทั้ง 5 ของอิสลาม นอกจากความสวยงามและความสูงของตึก ที่ทำให้คนทั่วโลกต้องตะลึงแล้ว ภายในตึกยังเป็นแหล่งรวมความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี บันเทิงและแหล่งช็อปปิ้งขนาดใหญ่อีกด้วย







จัตุรัสเมอร์เดก้า (Merdeka Square) บริเวณจัตุรัสแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของเสาธงที่สูงที่สุดในโลก ซึ่งเป็นธงชาติประจำชาติมาเลเซีย ที่ได้รับการชักขึ้นสู่ยอดเสา ความสูงของยอดโดมมีขนาดเท่ากับ 40 เมตร และหอนาฬิกาที่ตั้งตระหง่านอวดความสวยงามของตัวตึกและในเวลากลางคืน จะมีการติดไฟระยิบระยับเต็มไปหมด ยิ่งเพิ่มความสวยงามให้กับอาคารแห่งนี้






กัวลาลัมเปอร์ ทาวเวอร์ (Menara Kuala Lumpur) ตั้งอยู่บนยอดเขาบูกิตนานาส เป็นหอคอยที่มีความสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากที่แคนาดา รัสเซีย และจีน มีความสูงถึง 421 เมตร โดยใช้เป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ และใช้ระบบสื่อสารไฮเทคต่างๆ ด้านหน้าทางเข้าจะเป็นสวนหย่อมขนาดใหญ่มีต้นไม้ใหญ่อายุ 100 ปี มีชื่อว่า ต้นเจลลิตง










ปุตราจายา (Putrajaya)
อยู่ห่างจากตัวเมืองกัวลาลัมเปอร์ประมาณ 50 นาที ห่างจากสนามบินนานาชาติไปไม่ไกลนัก บนพื้นที่กว้างใหญ่มหาศาลครอบคลุมพื้นที่เข้าทั้งลูก ถูกสร้างขึ้นให้เป็นเมืองใหม่ เป็นที่อยู่ของหน่วยราชการ ทุกกกระทรวง ทบวง กรม รวมทั้งรัฐสภา และบ้านของนายกฯ โดยรอบปุตราจายาจะเป็นพื้นที่บ้านจัดสรรที่สวยงามและคอนโดมีเนียมที่เป็นตึกสูง






เกนติ้ง ไฮแลนด์ (Genting Highlands)
เมืองที่ได้รับสมญานามว่า "เมืองแห่งความบันเทิง" นับเป็นเมืองที่เหมาะกับทุกครอบครัว และทุกงบประมาณการท่องเที่ยว ยอดเขาเกนติ้ง ไฮแลนด์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 6,000 ฟุต จึงมีอากาศเย็นสบาย บรรยากาศสดชื่น พร้อมทิวทัศน์ของเทือกเขาเขียวขจี ที่สวยงามราวกับภาพวาด








อนุเสาวรีย์แห่งชาติ (National Monument)


ซึ่งจัดว่าเป็นอนุเสาวรีย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นการสร้างแบบลอยตัว โดยการหลอมรูปปั้นด้วยบรอนซ์ จากประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นรูปปั้นขนาดใหญ่กว่าคนจริงหลายเท่า ที่มาของอนุสาวรีย์ มาจากในช่วงสมัยหนึ่งเกิดกลุ่มจีนคอมมิวนิสต์กระจัดกระจายทั่วประเทศ ซึ่งรัฐบาลต้องใช้เวลานานถึง 15 ปี ในการปราบโจรและเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ผู้กล้าหาญ

รายละเอียดของประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซีย Malaysia



Flag_of_Malaysia



ธงชาติมาเลเซียหรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "Jalur Gemilang" (แปลว่า ธงริ้วแห่งความรุ่งเรือง) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า "Bintang Persekutuan" หรือ "ดาราแห่งสหพันธ์"



แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 แถบ หมายถึงรัฐในสหพันธ์รัฐมาเลเซียทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ รัศมีดาวทั้ง 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราแห่งสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย ซึ่งแต่เดิมสีนี้ใช้แทนความเชื่อมโยงระหว่างสหพันธรัฐมาเลเซียกับเครือจักรภพอังกฤษ แต่คำนิยามดังกล่าวนี้ได้ถูกลดความสำคัญลง และได้มีการนิยามความหมายของสีนี้ใหม่ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันโดยรวมแล้วแม้ธงนี้จะคล้ายกันกับธงชาติสหรัฐอเมริกาและธงประจำบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษก็ตาม แต่ธงนี้ก็ไม่มีความเชื่องโยงกับทั้งสองธงข้างต้นแต่อย่างใด

ตราแผ่นดิน National Emblem of Malaysia

Arms_of_Malaysia

ตราแผ่นดินของมาเลเซีย (ภาษาอังกฤษ: National Emblem of Malaysia,the Coat of Arms of Malaysia; ภาษามาเลย์: Jata Negara in Malay) ประกอบด้วยส่วนหลักๆห้าส่วนคือ โล่ เสือสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลือง และดาวสีเหลือง 14แฉก และแถบผ้า ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมาเลย์ระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษตราในปัจจุบันจึงมีอิทธิพลของตราแบบตะวันตกอยู่มาก





Map of Malaysia





















เพลงชาติ : The national anthem of Malaysia




เนอการากู - เพลงชาติมาเลเซียถึงคิวของเพลงชาติของประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ของเราบ้าง คือ มาเลเซีย ครับ จากการที่เป็นประเทศประชาธิปไตยเหมือนกัน มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเหมือนกัน จึงเป็นประเทศที่มีความใกล้ชิดกันทางการเมืองกับไทยยิ่งกว่าประเทศเพื่อน บ้านอื่นๆ ที่เป็นสังคมนิยมด้วยซ้ำ ส่วนเรื่องการค้าหรือวัฒนธรรมก็อีกเรื่องนะครับ ความเป็นมาของเพลงชาติมาเลเซียคงต้องอ้างอิงถึงบทนำในวิกิพีเดียภาษาไทยที่ มีความกระชับดีอยู่แล้ว ดังนี้ครับ
เพลง ชาติมาเลเซีย มีชื่อว่า "เนอการากู" (Negaraku แปลว่า "ประเทศของฉัน") เพลงนี้ได้รับเลือกให้เป็นเพลงชาติมาเลเชียในสมัยสหพันธรัฐมลายาเมื่อปี พ.ศ. 2500 ทำนองเพลงนี้เดิมใช้เป็นเพลงคำนับประจำรัฐเประ และเคยใช้เป็นทำนองเพลงยอดนิยมในมาเลเซียสมัยหนึ่งที่ชื่อว่า เตอรัง บูลัน (Terang Bulan) ซึ่งหยิบยืมทำนองมาจากเพลงฮาวายชื่อ เพลงมามูลา มูน (Mamula Moon) อีกชั้นหนึ่ง
เพลงเนอการากูมีการบรรเลงอยู่ 2 แบบ คือ การบรรเลงแบบสังเขป ซึ่งใช้ในโอกาสต่างๆ โดยทั่วไป และการบรรเลงแบบเต็มฉบับ ใช้ในยามที่ยังดี เปอร์ตวน อากง (พระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย) เสด็จออกในงานทางราชการ
(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Negaraku และ http://th.wikipedia.org/wiki/เพลงชาติมาเลเซีย)
สังเกต ด้วยนะครับว่าประเทศที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมากนัก ก็จะไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อร้องหรือทำนองเพลงชาติกันบ่อยๆ ในที่นี้ขอนำมาเสนอเฉพาะทำนองเพลงเช่นเคยครับ



ภาษา: Language

ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู ซึ่งเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า Bahasa Melayu เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่พูดโดยชนชาติมลายูซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของคาบสมุทรมลายู ทางใต้ของประเทศไทย ประเทศสิงคโปร์ และบางส่วนของเกาะสุมาตรา เป็นภาษาทางการของประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน และเป็น 1 ใน 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศติมอร์ตะวันออก
ในการใช้ภาษาโดยทั่วไป ถือว่าเหมือนกัน หรือสื่อสารเข้าใจกันได้กับภาษาอินโดนีเซีย (บาฮาซาอินโดนีเซีย) อันเป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย แต่ใช้ชื่อแยกต่างกันด้วยเหตุผลทางการเมือง อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในพื้นที่ต่างกัน การใช้ภาษา รสนิยมทางภาษา จึงแตกต่างกันไป แต่ไม่มากนัก
มาตรฐานอย่างเป็นทางการของภาษามลายูนั้น มีการตกลงร่วมกันระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ว่าใช้บาฮาซารีเยา (Bahasa Riau) เป็นมาตรฐาน อันเป็นภาษาของหมู่เกาะรีเยา ซึ่งถือว่าเป็นต้นกำเนิดของภาษามลายูมาช้านาน

ศาสานาและวัฒนธรรม

มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเชีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทาง ภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย "ภูมิบุตร"

เมืองหลวงตึกสวยๆที่มาเลเซีย

กัวลาลัมเปอร์ (ออกเสียงตามภาษามลายูว่า กัวลาลุมปูร์ เป็นเมืองหลวงของประเทศมาเลเซียและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศด้วย ภายในมาเลเซียเอง กัวลาลัมเปอร์มักจะเรียกย่อ ๆ ว่า KL
กัวลาลัมเปอร์เป็นหนึ่งในสามเขตสหพันธ์ของมาเลเซีย (Malaysian Federal Territories) ล้อมรอบด้วยรัฐสลังงอ (Selangor state) บนชายฝั่งตะวันตกตอนกลางของคาบสมุทรมาเลเซีย (Peninsular Malaysia)
ฝ่ายบริหารของรัฐบาลมาเลเซียได้ย้ายไปที่เมืองใหม่คือ ปุตราจายา อย่างไรก็ดี พระราชฐานของกษัตริย์ของมาเลเซีย รัฐสภามาเลเซีย และฝ่ายนิติบัญญัติยังคงอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์



สกุลเงิน

ริงกิตมาเลเซีย หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่า ดอลลาร์มาเลเซีย เป็นเงินตราประจำชาติของประเทศมาเลเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 100 เซ็น (รหัสเงินตรา MYR). ดอลลาร์สิงคโปร์และดอลลาร์บรูไนก็เรียกว่า ริงกิต ในภาษามาเลย์ คำว่า ringgit ในภาษามาเลย์แปลว่า "เป็นหยัก ๆ" และใช้อ้างถึงขอบหยัก ๆ ของ เหรียญเงินของประเทศสเปนที่ใช้แพร่หลายในพื้นที่
ในปี พ.ศ. 2380 รูปีได้กลายเป็นเงินตราราชการชนิดเดียวในอาณานิคมช่องแคบ (Straits Settlements) แต่ในปี พ.ศ. 2410 เหรียญเงินได้เป็นเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมายอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2446 ได้มีการนำดอลลาร์ช่องแคบ (Straits dollar) ออกมาใช้โดย Board of Commissioners of Currency โดยที่ตั้งราคาไว้ที่ 2 ชิลลิง และ 4 เพนซ์ และได้มีการห้ามไม่ให้ธนาคารเอกชนออกธนบัตรเอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้เกิดความไม่ต่อเนื่องของเงินตรา 2 ครั้ง คือ การยึดครองของประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. 2485-2487) และการลดค่าเงินของปอนด์สเตอร์ลิงในปี พ.ศ. 2510 เป็นเหตุให้ธนบัตรของ Board of Commissioners of Currency of Malaya and British Borneo ลดค่าไป 15% ในขณะที่ดอลลาร์ของ Bank Negara Malaysia และ Commissioners of Currency ของสิงคโปร์และบรูไนไม่มีการลดค่า
ชื่อภาษามาเลย์ คือ ริงกิต และ เซ็น ได้กลายเป็นชื่ออย่างเป็นทางการในสิงหาคม พ.ศ. 2518 ก่อนหน้านี้ เงินตราได้เรียกเป็น ดอลลาร์ และ เซนต์ ในภาษาอังกฤษ และ ริงกิต และ เซ็น ในภาษามาเลย์ อย่างไรก็ดี การใช้สัญลักษณ์ดอลลาร์ "$" (หรือ "M$") ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น "RM" (Ringgit Malaysia) จนถึงช่วง พ.ศ. 2533
ตั้งแต่วิกฤตทางการเงินในเอเซียเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้มีการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนของริงกิตกับดอลลาร์สหรัฐไว้ที่ RM3.80 ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ


ริงกิต
Ringgit Malaysia
รหัส ISO 4217MYR
ใช้ในมาเลเซีย
อัตราเงินเฟ้อ2.1%
ข้อมูลจากThe World Factbook (พ.ศ. 2549)
หน่วยย่อย
1/100เซ็น
สัญลักษณ์RM
เหรียญ5, 10, 20, 50 เซ็น
ธนบัตร1, 5, 10, 50, 100 ริงกิต
ธนาคารกลางธนาคารกลางแห่งมาเลเซีย
เว็บไซต์http://www.bnm.gov.my/
โรงกษาปณ์Royal Mint of Malaysia
เว็บไซต์http://www.royalmint.com.my/


อาหารประจำชาติ

อาหารมาเลเซีย มีลักษณะเด่นอยู่ที่การใช้สมุนไพร เครื่องเทศ พริก มีรสเผ็ด และมักจะใช้ผงกะหรี่ คนในปีนังไม่ว่าจะเป็นคนอินเดีย คนจีนหรือคนมาเลเซียเองชอบทานอาหารที่มีผงกะหรี่และไม่มีใครปฏิเสธอาหารที่ มีผงกะหรี่ สมุนไพรที่นำมาประกอบอาหารนอกจากสมุนไพรท้องถิ่นซึ่งมีอยู่มากมาย บางครั้งยังมีการรวมสมุนไพรหลายชนิดเข้าด้วยกัน เพื่อให้มีกลิ่นหอม มักใช้ในการผัดข้าว อาหารมาเลเซียส่วนใหญ่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นอาหารมุสลิม เพราะไม่ใช้เนื้อหมู และไม่ใส่ไวน์ เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทานกันจึงเป็น เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแพะ เนื้อแกะ และ อาหารทะเล และภูมิภาคของมาเลเซีย
อาหารจะมีลักษณะเฉพาะต่างกัน ในปีนังจะใช้ผงกะหรี่ในการประกอบอาหารมาก เพราะคนส่วนใหญ่ชอบผงกะหรี่ ขณะที่ทางตอนใต้ของประเทศจะนิยมใช้กะทิ คล้ายกับอาหารไทย โดยจะใช้กะทิกับอาหารเกือบทุกอย่าง ข้าว เป็นอาหารจานหลักในทุกมื้อของอาหารมาเลเซียเหมือนอาหารไทย ต่างกับอาหารยุโรปที่บางมื้อเป็นขนมปัง บางมื้อเป็นเนื้อ หลายคนเห็นหน้าตาอาหารมาเลเซียคล้ายกับอาหารอินเดีย แต่ อาหารอินเดียจะใช้กะทิเป็นส่วนผสมน้อยมาก ในอาหารมาเลเซียยังมีเครื่องจิ้มคล้ายน้ำพริกกะปิ เรียกว่า ซัมบัล (Sambal) ทำจากพริกป่น หัวหอมและน้ำมะขาม เป็นส่วนหนึ่งของสำรับอาหารของชาวมาเลเซีย นอกจากนี้ยังนิยมใช้ กะปิ ในการปรุงอาหารแทบทุกชนิดไม่ว่าจะผัดหรือแกง ลองมาดูสูตรอาหารมาเลเซีย
อาหารมาเลเซีย เป็นอาหารประจำชาติของชาวมาเล ที่มีการสั่งสม และถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งอดีตจนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติอย่างหนึ่งที่ ชวนให้ไปสัมผัสกันที่
1. ห้องอาหาร นานาชาติ ซิตี้บิสโทร โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส โดยมีเมนูเด็ดต้นตำรับอาหารมาเลเซียให้ได้ลิ้มลอง มีความโดดเด่นคือการผสมผสานเครื่องเทศ และสมุนไพรของอินเดีย อิ่มอร่อยได้ทุกวันในบุฟเฟต์มื้อเย็น 890 บาท/ท่าน โทร. 0-2216-3700 ต่อ 20100

2. ห้องอาหารคาเฟ่ จี โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ กรุงเทพฯ เชิญมาพบกับเชฟ ชาติ อาเทฟ ซาพ เป็นเชฟอาหารตะวันออกกลางรับเชิญที่บินตรงมาจากประเทศคูเวต เพื่อมารังสรรค์หลากหลายเมนูสไตล์เลบานิส แบบต้นรำรับ เพื่อให้ทุกคนได้สัมผัสลิ้มลอง โทร. 0-2656-0360
3. ห้องอาหารเบนิฮาน่า โรงแรมแมริออท รีสอร์ท แอนด์สปา กรุงเทพฯ ชวนมาลิ้มลองโปรโมชั่นสุดพิเศษกับ มากิ โมโน แมดเนส ให้เลือกเต็มอิ่มกับขบวนเมนูข้าวห่อสาหร่ายหลากหลายไส้รสเลิศ อาทิ ข้าวห่อสาหร่ายสอดไส้กุ้งตัวโต ข้าวห่อสาหร่ายสอดไส้ปลาแซลมอนรมควันกับมะขื่อเทศตากแห้งข้าวห่อสาหร่ายสอด ไส้ตับห่าน และปูอัด ฯลฯ โทร. 0-2476-0022 ต่อ 1416
4. เปลี่ยนจากอาหารคาว มากินอาหารหวานกันบ้าง ซึ่งที่ห้อง บอง บอง โรงแรม แกรนด์ สุขุมวิท โซฟิเทล (สุขุมวิท6) เค้กผลไม้หลากกหลายรสชาติมาให้ลิ้มลองแบบไม่จำกัด อาทิ ฟองดูว์ผลไม้นานาชนิด, เชอรี่ทาร์ต, บลูเบอร์รี่ชีสเค้ก, กีวีมูสหวานหอม ไอศกรีมผลไม้นานาชนิด อาทิ มะม่วง, สตอเบอร์รี่, บอยเซ็นเบอรรี่ พร้อมปิดท้ายด้วย ฟรุ๊ตพันช์ หรือ ฟรุ๊ตสมู๊ตตี้ ฯลฯ โทร. 0-2207-9999 ต่อ 5611
5. ปิดท้ายกับของหวานอย่างเบเกอรี่ กันที่บุหงาตันหยง เบเกอรี่ โรงแรม เดอะแกรนด์ อยุธยา บางกอก นำเสนอลำไยหอมชื่นคอ ผสานชีสนุ่มละมุน เติมแต่งด้วยนานาผลไม้ปรุงแต่งความมหัศจรรย์ของเค้กที่เหมาะกับทุกโอกาส คัดสรร และนำเสนอ มาพร้อมๆกับ ขนมปังธัญพืชหลากชนิด เพื่อสุขภาพ และความอร่อยลิ้น.....

ดอกไม้ประจำชาติ

ดอกไม้ประจำชาติของมาเลเซีย

มีชื่อไทยที่สง่างามว่า ชบา ครับ แต่ก่อนบ้านแมคก็มีนะครับ แต่ทำรั้วบ้านใหม่เลยต้องจำใจตัดเค้าทิ้งไป เสียดายมากๆ เวลาเค้าบานเค้าจะสง่างามมากๆครับ ถึงแม้ว่าจะไม่มีกลิ่นก็ตาม ชบา เป็นดอกไม้ประจำชาติของ ประเทศมาเลเซีย ครับ ชบา และ พู่ระหง ก็เป็นไม้มงคลอีกชนิดครับ เชื่อกันว่าจะช่วย ส่งเสริมให้สูงส่งและสง่างามดั่งพู่ระหงแก่ผู้อยู่อาศัยครับ ทิศเหมาะสมคือตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ใครปลูกก็ได้ครับ แต่ควรปลูกวันพุธจ้า





    ชุดประจำชาติ

    ชุดประจำชาติมาเลเซีย ชาย

    ผ้าซิ่น หรือ ซิ่น เป็นผ้านุ่งของผู้หญิง มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทั้งขนาด การนุ่ง และลวดลายบนผืนผ้า
    ผ้าซิ่นนับเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งของหญิงไทย ในสมัยโบราณ การทอผ้าเป็นงานในบ้าน ลูกผู้หญิงมีหน้าที่ทอผ้า แม่จะสั่งสอนให้ลูกสาวฝึกทอผ้าจนชำนาญ แล้วทอผ้าผืนงามสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานแต่งงาน งานบวช หรืองานบุญประเพณีต่างๆ การนุ่งผ้าซิ่นของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการแสดงฝีมือของตนให้ปรากฏ ผ้าซิ่นที่ทอได้สวยงาม มีฝีมือดี จะเป็นที่กล่าวขวัญและชื่นชมอย่างกว้างขวาง
    ผ้าซิ่นของไทยมักจะแบ่งได้เป็นสองลักษณะ อย่างแรกคือ ผ้าซิ่นสำหรับใช้ทั่วไป มักจะไม่มีลวดลาย ทอด้วยผ้าฝ้าย หรือด้ายโรงงาน (ในสมัยหลัง) อาจใส่ลวดลายบ้างเล็กๆ น้อยๆ ในเนื้อผ้า อีกอย่างหนึ่ง คือผ้าซิ่นสำหรับใช้ในโอกาสพิเศษ มักจะทอด้วยความประณีตเป็นพิเศษ มีการใส่ลวดลาย สีสันงดงาม และใช้เวลาทอนานนับแรมเดือน
    ขนาดและลักษณะของผ้าซิ่นนั้น ขึ้นกับฝีมือ รสนิยม ขนบการทอในแต่ละท้องถิ่น และยังขึ้นกับขนาดของกี่ทอด้วย การทอผ้าด้วยกี่หน้าแคบ จะได้ผ้าที่แคบ ผ้าซิ่นสำหรับใช้จริงจึงต้องนำมาต่อเป็นผืนให้กว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม ผ้าซิ่นในปัจจุบันจะทอด้วยกี่หน้ากว้าง ไม่ต้องต่อผืนอย่างในสมัยโบราณอีกต่อ
    ไป
    ชุดประจำชาติหญิงมาเลเซีย


    เครื่องแต่งกายประจำชาติของสาวมาเลย์ (สาวมาเลย์หมายถึง หญิงมาเลเซียนที่เป็นมุสลิมค่ะ) ที่เป็นชุดยาว แขนยาว กระโปรงยาวกรอมเท้า (ถ้าเคร่งจัดต้องใส่ถุงเท้าด้วย) และต้องคลุมผมมิดชิด (คนใกล้ตัวบอกว่า เป็นความเชื่อทางศาสนาที่ว่า ห้ามผมของหญิงสาวต้องแสงแดด - แต่ไม่ยักกะบอกเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นเช่นนั้น) ชุดประจำชาติแบบนี้ เรียกว่าชุด tudung
    ลักษณะภูมิประเทศ
    1. มาเลเซียตะวันตก มีภูเขาทอดยาวทางตอนกลางเกือบตลอด เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ทำให้มีที่ราบ 2 ด้าน ที่ราบด้านตะวันตกกว้างกว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เขตปลูกยางพารา และขุดแร่ดีบุก
    2. มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล

     ลักษณะภูมิอากาศ

    • ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม

     ชื่อ


    คำว่ามาเลเซียเคยถูกใช้เรียกหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก่อน
    ชื่อของประเทศมาเลเซียถูกตั้งขึ้นเมือ พ.ศ. 2506 โดยมีความหมายรวมเอาสหพันธรัฐมาลายา สิงค์โปร์ ซาบาห์ ซาราวัก และบรูไนเข้าด้วยกัน คำว่า มาเลเซียนี้เดิมเคยถูกใช้เป็นชื่อเรียกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะมาก่อน ซึ่งปรากฏหลังฐานจากแผนที่ที่ตีพิมพ์ในชิคาโกเมื่อปีพ.ศ. 2457 ในการตั้งชื่อประเทศมาเลเซียนั้นมีการนำเสนอชื่ออื่นๆ มากมายก่อนที่จะได้ผลสรุปให้ใช้ชื่อมาเลเซีย

     ประวัติศาสตร์

    ปรากฏความสัมพันธ์อย่างแน่นเฟ้นระหว่างหลายชนเผ่าพันธุ์และหลายวัฒนธรรมของประเทศ นอกจากชาวมาเลย์และ กลุ่มชนพื้นเมืองแล้ว ยังมีผู้อพยพมาจากจีน อินเดีย อินโดนีเซียและส่วนอื่นของโลก ซึ่งรวมเข้าเป็นพลเมืองของมาเลเซีย ความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่าง น่า สนใจ อาจเนื่องมาจากการติดต่อสัมพันธ์นานปี กับภายนอกและการปกครองโดย ชาวโปรตุเกส ดัทช์ และ อังกฤษ ผลที่เกิดตามมาคือการวิวัฒน์ของประเทศจนเปลี่ยนรูปของวัฒนธรรมดังจะได้เห็น การผสมผสานได้อย่างวิเศษของ ศาสนา กิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีการแต่งกาย ภาษาและอาหาร ประเทศมาเลเซียได้รับเอกราชคืนจากอังกฤษมาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ปี ค.ศ.1957เป็นสหพันธ์มาเลเซีย ต่อมาเมื่อรวมรัฐซาบาห์ และ รัฐซาราวัดเข้าด้วยแล้ว ประเทศมาเลเซียจึงได้ถือกำเนิดขึ้น การเมือง
    ในปัจจุบันประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐและปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรูปแบบในการปกครองคล้ายอังกฤษกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดี.

     การแบ่งเขตการปกครอง


    แผนที่รัฐในมาเลเซีย
    มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ (states - negeri-negeri) และ 3 ดินแดนสหพันธ์* (federal territories - wilayah-wilayah persekutuan) เป็นดินแดนที่รัฐบาลกลางปกครอง เขตการปกครองต่าง ๆ และชื่อเมืองหลวง (ในวงเล็บ) ได้แก่